วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึการเรียนครั้งที่ 3

 บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ   แจ่มถิน

วันจันทร์  ที่ 28 มกราคม 2558
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30 - 12.00 น.






 กิจกรรมในห้องเรียน
                  อาจารย์ให้วาดภาพดอกกุหลาบตามแบบที่เห็นซึ่งดอกกุหลาบนี้เป็นดอกกุหลาบที่ถ่ายมาจากบ้านอาจารย์เอง โดยภาพที่วาดนั้นต้องมีความเหมือนมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น โคร่งร่างของดอกกุหลาบ การวาดกลีบดอก จนกระทั้งการลงสีก็ต้องมีความเหมือนให้มากที่สุดตามที่ตนเองเห็น

นี้คือภาพที่อาจารย์ถ่ายมา


ภาพที่วาดเอง


           จากกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำนั้นเปรียบเสมือนกับการบันทึกพฤติกรรมเด็ก คือการที่เราจะบันทึกพฤติกรรมต่างๆของเด็กนั้นครูคงรบันทึกจากสิ่งที่เห็นเท่านั้นไม่ควรใส่ความรู้สึกของตนเองลงไปเพราะอาจจะทำใหการบันทึกนั้นเกิดการบิดเบือนไม่เป็นความจริง และการบันทึกควรบันทึกเมื่อพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นครูต้องบันทึกทันที ไม่ควรเก็บไว้และมาบันทึกภายหลังเพราะอาจจะทำให้ลืม

 เนื้อหาที่เรียน

บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัยอาการของเด็ก เพราะจากอาการที่แสดงอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี และเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  • เด็กจะกลาบเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่เด็กว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • พ่อแม่เด็กรู้ดีว่าลูกของเขานั้นมีปัญหาและไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้แล้ว
  • ช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
  • ครูควรรายงายในสิ่งที่เด็กทำได้เพราะนั้นเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  • ควรพูดในเชิงบวกและต้องมีไหวพริบต่างๆ
ครูต้องทำอะไรบ้าง
  • สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
  • สังเกตเด็กเป็นภาพรวมทั้งห้องแต่เน้นเด็กที่เป็น
  • จดบันทึกตามความเป็นจริง
สังเกตอย่างมีระบบ
  • ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  • ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่า ต่างจากแพทย์ นักคลีนิก นักจิตวิทยา มักมุ่งความสนใจที่ปัญหา
แบบสังเกตของครูและการตรวจสอบเพื่อคัดแยกเด็ก




การตรวจสอบ
  • จะทราบว่าเด็กมีฤติกรรมอย่างไร
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เด็กเข้าใจเด็กยิ่งขึ้น
  • บอกได้ว่าเด็กเรื่องใดเป็นเรื่องที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
* หมายเหตุ หากพฤิกรรมที่เป็นปัญหานั้นเกิดขึ้นมากกว่า1เรื่องครูต้องเลือกเรื่องที่มีความสำคัญต่อตัวเด็กเป็นอันดับแรก และต้องรีบแก้ไขเมื่อพฤติกรรมนัน้เป็นพฤติกรรมที่ขัดขวางการเรียนรู้ของเด็ก 

ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและการตัดสินในล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
  • การบันทึกต่อเนื่อง
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
  • นับจำนวนครั้งของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
  • กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
การบันทึกต่อเนื่อง
  • ให้รายละเอียดได้มาก
  • เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลานั้นๆโดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • บันทึกในบัตรคำเล็กๆ
  • บันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กในช่วงเวลาหนึ่ง
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมที่เกิดขึ้นขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
 ฝึกร้องเพลงเด็กปฐมวัย


   เพลง ฝึกการบริหาร   

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อ.ตฤณ   แจ่มถิน
 ตอบคำถามหลังเรียน ( Post Test )
  1. ให้นักศึกษาบอกบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติและไม่ควรปฎิบัติต่อเด็กในห้องเรียนรวม
  2. บอกลักษณะการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบว่ามีรูปแบบใดบ้าง และแต่ละรูปแบบมีวิธีการในการสังเกตเด็กอย่างไร
 การนำไปใช้
    
              การนำแบบบันทึกที่ไปใช้ในอนาคตข้างหน้า วิธีการในการสังเกตเด็กว่าควรบันทึกตามที่เห็นไม่ควรใส่ความรู้สึกหรือความคิดเห็นของครูลงไป ได้หลักในการแก้ไขพฤติกรรมเด็กว่าควรแก้ในจุดที่เป็นปัญหาที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆของตัวเด็กหรือที่ขัดขวางการเรียนรู้ของเด็ก 

 การประเมิน 

ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา สนใจในการวาดภาพที่อาจารย์นำมาให้วาดรู้สึกตื่นเต้นและมีความเกร็งเล็กน้อยในการวาดเพราะอาจารย์บอกให้วาดให้เหมือนมากที่สุด เพราะตนเองไม่มีความสามารถในการวาดภาพระบายสีเรย มีความตั้งใจในการเรียนมีการจดบันทึกเพิ่มเติมในสิ่งที่อาจารย์พูด

เพื่อน : เพื่อนๆมีความมุ่งมั่นตั้งใจมนการวาดมากและทุกคนก็วาดออกมาได้ดี ช่วยกันตอบคำถามในสิ่งที่อาจารย์ถาม

อาจารย์ : เตรียมอุปกรณ์มาพร้อมในการทำกิจกรรม มีความตั้งใจในการสอน สอนดีเข้าใจ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น