วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

 บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ   แจ่มถิน

วันจันทร์  ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30 - 12.00 น.




หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค





 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

 บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ   แจ่มถิน

วันจันทร์  ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30 - 12.00 น.



 เนื้อหาที่เรียน การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
 กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆเด็กไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อนแต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
 ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู่ว่าต้องเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP
 กระตุ้นการเลีบยแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  • คำนึงเด็กทุกๆคน
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่่เหมือน"ครู"ให้เด็กพิเศษ
 ครูควรปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
 การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย " การพูดนำของครู "
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาส
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนร่วมห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
เพิ่มเติม
  • ครูต้องชักนำเด็กไปจากนั้นยืนดูใกล้ๆหรืออาจเข้าไปเล่นร่วมกับเด็ก
  • ให้แรงเสริมทั้งสองฝ่าย
  • เมื่อเอาเด็กไปเล่นกับเพื่อน เอาเด็กไปพร้อมของเล่น
  • ไม่มีใครมีสิทธิเหนือคนอื่น
  • เมื่อครูจะลงโทษเด็กครูต้องลบอกเหตุผลที่โดนลงโทษด้วย
  • ครูมีหน้าที่กำหนดและควบคุมการเล่นของเด็ก
ทดสอบหลังเรียน Post Test
  1. ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไร

เพลงเด็กปฐมวัย


 กิจกรรมในห้องเรียน ( กิจกรรมดนตรีบำบัด )

ให้นักศึกษาจับคู่กันแล้วเลือกสีที่ตัวเองชอบคนละ1สีพร้อมกับกระดาษคู่ละ1แผ่น


จากนั้นให้เลือก1คนที่จะเป็นคนวาดเส้นตามเสียงดนตรีที่ได้ยินแต่มีข้อแม้ว่าเส้นที่วาดนั้นต้องมีจุดตัดเป็นวงกลมด้วยและให้เพื่อนอีกคนวาดจุดในวงกลมทั้งหมดที่เห็น


เมื่อเพลงจบให้หยุดวาดและคำสั่งต่อไปคือให้วาดภาพจากเส้นทั้งหมดที่เขียนไว้จินตนาการตามความคิดของตนเองได้เลยว่าเห็นเส้นที่ตัดกันไปมานั้นเป็นรูปอะไรแล้วระบายสีให้สวยงาม

และนี้คือผลงานของคู่เรา


และนี้คือผลงานของเพื่อนๆให้ห้อง


 การประเมิน

ตนเอง :  เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อย มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ ตั้งใจและสนใจในการสอนของอาจารย์ ในช่วงทำกิจกรรมก็ช่วยเหลือเพื่อนอย่างเต็มที่และสุดความสามารถที่มีอยู่ มีความสนุกสนานในการเรียนได้ความรู้ครบถ้วนและมีความเข้าใจมากขึ้น

เพื่อน :  เพื่อนๆมีความตั้งใจในการเรียน มีคุยกันเล็กน้อยและเมื่ออาจารย์ถามก็ร่วมตอบคกถามมีส่วนร่วมกันทุกคน ร้องเพลงด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน และมีความสุขกันทุกคนและทุกครั้งที่มาเรียนวิชานี้

อาจารย์  :  อาจารย์สอนด้วยความสนุกสนานและมีความเข้าใจนักศึกษา หากิจกรรมที่หลากหลายมาให้นักศึกษาทำแต่ละสัปดาห์ทำให้เกิดความตื่นเต้นและแปลกใจในกิจกรรมของอาจารย์ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการสอนนักศึกษา อาจารย์น่ารัก ^_^













บันทีกการเรียนครั้งที่ 5

 บันทึกอนุทิน 
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ   แจ่มถิน

วันจันทร์  ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30 - 12.00 น.



กิจกรรมในห้องเรียน

          วาดภาพมือตัวเอง

อุกปรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม


นำถุงมือใส่ข้างที่ไม่ถนัดจากนั้นก็เริ่มวาดมือตนเอง
และนี้ก็คือภาพที่วาดออกมา


มือเมื่อไม่ได้ใส่ถุงมือ


         จากกิจกรรมที่ทำวาดภาพมือของตนเองที่เห็นอยู่กันทุกวันเป็นระยะเวลานานถึง20ปีเรายังวาดรายละเอียดของมือเราเองได้ไม่ครบเมื่อเปรียบเทียบกับการบันทึกพฤติกรรมเด็กคือคนเป็นครูอย่าคิดว่าตนเองจะจำได้ว่าเด็กแสดงพฤติกรรมใดบ้างโดยการคิดว่าเดี๋ยวค่อยบันทึกก็ได้เพราะที่จริงแล้วเราอาจจะลืมและเกิดความผิดพลาดก็ได้เราอาจจะใส่ความรู้สึกหรือแสดงความคิดเห็นของตนเองลงไปทำให้การบันทึกนั้นๆไม่ถูกต้องตามหลักความจริง ดังนั้นครูควรจะบันทึกพฤติกรรเด็กทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมออกมา ครูควรมีกระดาษและปากกาเพื่อเตรียมพร้อมกับการบันทีกอยู่ตลอดเวลา

 เนื้อหาที่เรียน  การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

 ทักษะของครูและทัศนคติ
           ( ครูต้องมองเด็กทุกคนให้เป็นเด็กเหมือนกันทุกคน )
 การฝึกเพิ่มเติม
  •  อบรมระยะสั้นๆ สัมมนา
  •  สื่อต่างๆ
 การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักมีความคล้ายกันมากกว่าแตกต่าง
  • ครูต้องรู้จักเด็กแต่ละคนและทุกคน
  • มองเด็กให้เป็นเด็ก 
 การคิดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  • การเข้าใจพัฒนาการเด็กจะช่วยให้ครูมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
 ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ ( มีความใกล้เคียงกัน )
  • แรงจูงใจ ( มีความแตกต่างกันเล็กน้อย )
  • โอกาส ( เท่ากันหากอยู่ในห้องเรียน )
 การสอนโดยบังเอิญ
  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่โอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • ครูต้องมีความสนใจเด็ก
  • ครูต้องมีความรู็สึกดีต่อเด็ก
  • ครูต้องมีอุปกรณ์หรือกิจกรรมที่ล่อใจเด็ก
  • ครูมีความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือเด็กแต่ละคนให้ได้เรียนรู้
  • ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
  • ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
เพิ่มเติม  เกิดจากกิจกรรมที่เด็กทำและเมื่อเด็กมีปัญหาจะวิ่งเข้ามาถามเอง
 อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
เพิ่มเติม สื่อที่ไม่แบ่งแยกเพศเด็กและไม่ควรมีวิธีเล่นที่ตายตัว
 ตารางประจำวัน
  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  • เด็กต้องรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  • การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
  • คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลา
 ทัศนคติของครู

 ความยืดหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความต้องการของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญสำหรับเด็กแต่ละคน
 การใช้สหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
 การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้

  เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
 เทคนิคการเสริมแรง แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
  • ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  • มีแนวโน้นจะเพิ่มเติมพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
  • หากผู้ใหญ่ไม่สนใจในพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดน้อยลงและหายไป
 วิธีการแสดงออกถึงแรงงเสริมจากผู้ใหญ่
  • ตอบสนองด้วยวาจา
  • การยืนใกล้หรือนั่งใกล้เด็ก
  • พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
  • สัมผัสกาย
  • ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
 หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  • ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีอละทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
 การแนะนำหรืออกบท
  • ย่อยงาน
  • ลำดับความยากง่ายของงาน
  • การลำดับงานเป้นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
 ขั้นตอนการเสริมแรง
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดมุ่งประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
  • ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
  • ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  • ทีละขั้น ไม่เคร่งขัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น"
  • ไม่ดุหรือตี
 การกำหนดเวลา
  • จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
 ความต่อความเนื่อง
  • พฤติกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้าหรือสอนย้อนจากข้างหลัง
 การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกจากเด็ก(เอากิจกรรมออกจากเด็ก)
  • เอาเด็กออกจากการเล่น 
 ครูต้องมีความคงเส้นคงวา
  • เริ่มต้นดีอย่างไร เมื่อจบปลายเทอมก็ควรดีเหมือนตอนเริ่ม

ทดสอบหลังเรียน Post Test 

  1. การสอนโดยบังเอิญหมายความว่าอย่างไร
  2. การสอนโดยบังเอิญครูพึงปฎิบัติอย่างไร
  3. ตารางประจำวันของเด็กควรเป็นอย่างไร
  4. การให้แรงเสริมต่อเด็กมีวิธีการอย่างไรบ้าง

เพลงเด็กปฐมวัย

 เพลงฝึกกายบริหาร 

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


 เพลงผลไม้ 

ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหนา
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์


 เพลงกินผักกัน 

กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี


 เพลงดอกไม้ 

ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู


 เพลงจ้ำจี้ดอกไม้ 

จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องงฟ้า ราตรี


ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ดฤณ แจ่มถิ่น 

 การประเมิน
  • ตนเองเอง :  แต่งกายเรียบร้อยเข้าเรียนก่อนเวลา ตั้งใจเรียนมีความสนใจในการฟังอาจารย์บรรยายเนื้อหา มีความตื่นเต้นในการทำกิจกรรมเนื่องจากอาจารย์มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้อยู่เสมอ จดบันทักในสิ่งที่อาจารย์สอนเพิ่มเติ่มนอกเหนือมากเอกสารที่ให้มา เรียนมีความสุขอาจารย์น่ารักสอนสนุก
  • เพื่อน  :  เพื่อนๆก็เข้าเรียนตรงเวลาแต่ก็มีบางคนที่ยังเข้าสายบ้าง แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียน มีการโต้ตอบเมื่ออาจารย์ถามร่้วมกันอสดงความคิดเห็น 
  • อาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อย เตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมมาให้นักศึกษา มีเทคนิคการสอนที่ดียกตัวอย่างได้ดีทำให้เข้าใจมากขึ้น