บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันจันทร์ ที่ 22 เมษายน 2558
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30 - 12.00 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
การเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program: IEP)
การเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program: IEP)
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ะคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- ระบุวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนโดยละเอียดและวิธีในการวัและประเมินผล
การเขียนแผน
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ปนะเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กตรงจุดไหนและทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้บ้าง
- แล้วเริ่มเขียนแผน
แผน IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถเด็กในปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอนและคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ที่มีต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยาภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อสารการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ปนะโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วมร่วมในการจัดแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมและร่วมมือกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็กมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการสอนรายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รางงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่เด็กพิเศษ ผู้บริหาร
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
- กำหนดชัดเจน แม้จะกว้าง
- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น ( บอกพฤติกรรมเด็กเลย )
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- เช่น น้องต้องจับช้อนได้
- ต้องมี 4 หัวข้อนี้
1. จะสอนใคร
2. พฤติกรรมอะไร ( สอนอะไร )
3. เมื่อไหร่ ที่ไหน ( พฤติกรรมที่จะเกิด )
4. พฤติกรรมนั้นต้องต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง เช่น
- ใคร อรุณ
- อะไร กระดดนขาเดียว
- เมื่อไหร่ กิจกรรมกลางแจ้ง
- ดีขนาดไหน กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
3. การใช้แผนการสอน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้งหรือน้อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหมดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล
หมายเหตุ : การประเมินแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมใช้วิธีและกำหนดเกณฑ์ที่แตกต่างกัน
กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์อธิบายการเขียนแผน IEP อย่างละเอียดที่ละหัวข้อตามเอกสารที่นักศึกษาแต่ละคนมี จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มกลุ่มละ 5 คน และเขียน IEP ของแต่ละกลุ่มมาส่งให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันระดมความคิดและให้สมมติให้เพื่อนในกลุ่ม1คนเป็นเด็กพิเศษเลือกมากลุ่มละ1ด้านว่าจะทำด้านใด ส่วนของกลุ่มเราเลือกด้านร่างกาย คือกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ ดังนี้...
สมาชิกกลุ่มเรา
แผน IEP กลุ่มเรา
การนำไปใช้ความรู้ไปใช้
- นำวิธีการเขียนแผนในครั้งนี้ไปใช้ในอนาคตข้างหน้า
การประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อย ทำความเข้าใจในการเขียนแผนครั้งนี้เป็นอย่างมาก ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์อธิบาย และช่วยเพื่อนๆทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ
เพื่อน : เพื่อนๆในกลุ่มให้ความร่วมมือในการทำ เพื่อนๆในห้องตั้งใจเรียนและให้ความสนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน ไม่ค่อยคุยกัน
อาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาในการสอนอย่าละเอียดทำให้นักศึกษาเข้าใจ บรรยากาศในการเรียนมีความสนุกสนานผ่อนคลาย ทำให้ไม่กดดันเกิดการเรียนรู้ที่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น